[x] ปิดหน้าต่างนี้
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑๒
เมนูหลัก
หน้าแรก
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
ภารกิจหน่วยงาน
ผังโครงสร้างหน่วยงาน
บุคลากร
ติดต่อหน่วยงาน
ข่าวกิจกรรม/ประชาสัมพันธ์
รายงานงบทดลอง
ปฏิทินกิจกรรม
เว็บบอร์ด
ดาวน์โหลด
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ผังเว็บไซต์
คำถามที่พบบ่อย
ข่าวรับสมัครงาน
บริการประชาชน
บริการสารเร่ง พด.
บริการกล้าหญ้าแฝก
บริการวิเคราะห์ดิน
แผนที่เขตปลูกพืชเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน
ขั้นตอนการร้องเรียน
คู่มือสำหรับประชาชน
หน่วยงานภายในกรมฯ
-----กรุณาเลือกหน่วยงาน-----
กรมพัฒนาที่ดิน
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค
-----กรุณาเลือกหน่วยงาน-----
กลุ่มตรวจสอบภายใน
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
สำนักงานเลขานุการกรม
กองการเจ้าหน้าที่
กองคลัง
สำนักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดิน
กองแผนงาน
สำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่
- ส่วนเทคโนโลยีการบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ
ศูนย์สารสนเทศ
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน
กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
- กลุ่มป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร
- กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน
-----กรุณาเลือกหน่วยงาน-----
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑
- สถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี
- สถานีพัฒนาที่ดินนครนายก
- สถานีพัฒนาที่ดินลพบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม
- สถานีพัฒนาที่ดินสระบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง
- สถานีพัฒนาที่ดินสิงห์บุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท
- สถานีพัฒนาที่ดินนนทบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรปราการ
- สถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยา
- สถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพฯ
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๒
- สถานีพัฒนาที่ดินชลบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินสระแก้ว
- สถานีพัฒนาที่ดินฉะเชิงเทรา
- สถานีพัฒนาที่ดินระยอง
- สถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินตราด
- สถานีพัฒนาที่ดินปราจีนบุรี
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๓
- สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา
- สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์
- สถานีพัฒนาที่ดินชัยภูมิ
- สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๔
- สถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี
- สถานีพัฒนาที่ดินนครพนม
- สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด
- สถานีพัฒนาที่ดินยโสธร
- สถานีพัฒนาที่ดินศรีสะเกษ
- สถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร
- สถานีพัฒนาที่ดินอำนาจเจริญ
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๕
- สถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่น
- สถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี
- สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม
- สถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย
- สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์
- สถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร
- สถานีพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู
- สถานีพัฒนาที่ดินบึงกาฬ
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๖
- สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่
- สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอน
- สถานีพัฒนาที่ดินลำพูน
- สถานีพัฒนาที่ดินลำปาง
- ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๗
- สถานีพัฒนาที่ดินน่าน
- สถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย
- สถานีพัฒนาที่ดินแพร่
- สถานีพัฒนาที่ดินพะเยา
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๘
- สถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก
- สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์
- สถานีพัฒนาที่ดินอุตรดิตถ์
- สถานีพัฒนาที่ดินเลย
- สถานีพัฒนาที่ดินพิจิตร
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๙
- สถานีพัฒนาที่ดินนครสวรรค์
- สถานีพัฒนาที่ดินตาก
- สถานีพัฒนาที่ดินกำแพงเพชร
- สถานีพัฒนาที่ดินอุทัยธานี
- สถานีพัฒนาที่ดินสุโขทัย
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑๐
- สถานีพัฒนาที่ดินราชบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินกาญจนบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี
- สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร
- สถานีพัฒนาที่ดินประจวบคีรีขันธ์
- สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสงคราม
- โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑๑
- สถานีพัฒนาที่ดินสุราษฎร์ธานี
- สถานีพัฒนาที่ดินระนอง
- สถานีพัฒนาที่ดินพังงา
- สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช
- สถานีพัฒนาที่ดินชุมพร
- สถานีพัฒนาที่ดินกระบี่
- สถานีพัฒนาที่ดินภูเก็ต
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑๒
- สถานีพัฒนาที่ดินสงขลา
- สถานีพัฒนาที่ดินสตูล
- สถานีพัฒนาที่ดินยะลา
- สถานีพัฒนาที่ดินพัทลุง
- สถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาส
- สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี
- สถานีพัฒนาที่ดินตรัง
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ค้นหาภายในเว็บไซต์
ค้นหา
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
แบบสำรวจออนไลน์
ความพึงพอใจการใช้บริการเว็บไซต์
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด
ดูผลการ vote
หมวดหมู่ :
อื่น ๆ
เรื่อง :
ปลาน็อคน้ำ...ภัยร้ายจากฤดูฝน
โดย : admin
เข้าชม : 4211
ศุกร์ ที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2561
ปลาน็อคน้ำ...ภัยร้ายจากฤดูฝน
โดย นางสุขาวดี จารุรัชต์ธำรง
หัวหน้างานประมง ศูนย์ศึกษาการ
พัฒนาพิกุลทองฯ
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
ซึ่งเป็นฤดูกาลที่มีฝนตกตลอดทั้งเดือน ส่งผลกระทบมากมายแก่สิ่งมีชีวิต เช่น อันตรายจากสัตว์ มีพิษ ภัยจากอุบัติเหตุทางถนน โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ฤดูฝนยังส่งผลกระทบแก่เกษตรกรในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา มักประสบปัญหาโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างและความขุ่นของน้ำอย่างรวดเร็วหลัง ฝนตก ส่งผลให้ลูกปลาหรือปลาที่ปล่อยใหม่ ตลอดจนปลาที่เลี้ยงกันแบบหนาแน่นตาย เนื่องจากปลาปรับตัวไม่ทัน ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเกิดความเสียหายและขาดรายได้ในช่วงนั้น
ปลาน็อคน้ำ
เป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในฤดูฝน ซึ่งปลาน็อคน้ำ
(
Fish kill)
คือการขาดออกซิเจนของปลาในน้ำอย่างรุนแรง จนทำให้ปลาตายได้คราวละมากๆ ในระยะเวลาสั้น ซึ่งความสูญเสียอาจจะสูงถึง 100% ภายในเวลา 24 ชั่วโมง อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน และกระชังในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งในบ่อเลี้ยงมักเกิดขึ้นในช่วงหลังฝนตก หรือฟ้าครึ้มติดต่อกันหลายๆวัน ขณะที่ปลาที่เลี้ยงในกระชังมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีน้ำหลากหรือสีน้ำขุ่น ที่มีการเปื้อนของสารอินทรีย์ปริมาณสูงไหลเข้ามาในแหล่งเลี้ยง
สาเหตุที่ทำให้เกิดปลาน็อคน้ำ
มีดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน เมื่อเกิดฝนตกลงมาทำให้น้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาที่เลี้ยงอย่างหนาแน่นปรับตัวไม่ทัน และอีกกรณีคือ ปรากฏการณ์แทนที่ของน้ำชั้นล่างโดยน้ำชั้นบน ซึ่งจะเป็นการพาตะกอนและสารพิษจากการหมักต่างๆ ขึ้นสู่ผิวน้ำ จะทำให้เกิดการตายของปลาเป็นจำนวนมาก ในระยะสั้น
2. การขาดอากาศ มักเกิดร่วมกับภาวะเกิดสารพิษเพราะการเน่าของสิ่งมีชีวิต การหมักของตะกอน ซึ่งเกิดจากการขุ่นของแหล่งน้ำทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชน้ำน้อยลง หรือเกิดจากฝนตกหนักมีการชะล้างของเสียจากผิวดินลงสู่แม่น้ำก็จะทำให้เกิดการใช้ออกซิเจนจำนวนมากของของเสียเหล่านั้น
3. การให้อาหารปริมาณมาก ซึ่งเกิดจากการหมักหมมของเศษอาหาร และขี้ปลาที่เลี้ยงในบ่อมีจำนวนมาก ประกอบกับบ่อที่เลี้ยงไม่เคยมีการตากบ่อในแต่ละปี ทำให้เกิดแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟท์ สะสมเป็นจำนวนมาก ข้อสังเกตคือน้ำในบ่อจะมีสีเขียวจัดหรือสีน้ำตาล ดินก้นบ่อจะมีลักษณะเป็นขี้เลนเหลว มีกลิ่นเหม็น หากแก้ไขไม่ทันปลาที่เลี้ยงจะตายเพราะสารพิษดังกล่าวได้
4. อากาศปิด มืดครึ้ม ซึ่งจะทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง บ่อปลาที่มีการปล่อยอย่างหนาแน่น เช่น ปล่อยปลานิลเกิน 5,000 ตัว/ไร่ ปลาจะเริ่มตาย สังเกตจากปลาที่เลี้ยงจะเริ่มลอยหัวมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำบริเวณกลางบ่อก่อน นั่นแสดงว่าปลาเริ่มขาดออกซิเจน ต่อมาหากไม่แก้ไข ปลาที่เลี้ยงจะลอยหัวมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำทั่วทั้งบ่อ แสดงว่าปลาในบ่อขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง หากไม่แก้ไขปลาจะเริ่มตายจำนวนมาก
แนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหาปลาน็อคน้ำ
จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จึงได้ตระหนักถึงปัญหาและเป็นห่วงถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา นางสุขาวดี จารุรัชต์ธำรง หัวหน้างานประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จึงเตือนไปถึงเกษตรกรที่เลี้ยงปลา ในหน้าฝนถึงความเสี่ยงของปลาน็อคน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกษตรกรเกิดความเสียหายและขาดรายได้จากการเลี้ยงปลา โดยแนะนำแนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังนี้
1. แก้ไขปลาน็อคน้ำที่เกิดจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ด้วยการทำให้น้ำในบ่อมีการหมุนเวียนหรือเคลื่อนไหว โดยใช้เครื่องสูบน้ำ สูบน้ำ ในบ่อแล้วพ่นน้ำขึ้นบนอากาศให้น้ำตกลงในบ่อเหมือนเดิม หรือใช้เครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำในบ่อมีการหมุนเวียน
2. แก้ไขสิ่งหมักหมมที่ค้างอยู่ในบ่อที่ทำให้น้ำมีสีเขียวจัด ซึ่งจะทำให้ปลาทยอยตายจากสารพิษ ด้วยวิธีการดังนี้
1) ถ่ายเทน้ำเก่าในบ่อออก แล้วใส่น้ำใหม่เข้าไปแทนในปริมาณ เท่าเดิม และเมื่อเลี้ยงปลาครบรอบปีให้ทำการตากบ่ออย่างน้อย 3 – 5 วัน
2) ใส่จุลินทรีย์ลงในบ่อ เพื่อให้น้ำมีสภาพดีขึ้น เช่น ปุ๋ยน้ำชีวภาพ พด.6 หรือ EM
3) ใส่ปูนขาวในอัตรา 5-10 กก./ไร่/ครั้ง ห่างกันอาทิตย์ละครั้ง ใส่รวมกันไม่เกิน 6 กก./ไร่ โดยละลายปูนขาวในน้ำแล้วสาดเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำ ปูนขาวลงในบ่อ
4) ใส่เกลือแกงในอัตรา 160 กก./ไร่ (ไม่ควรใส่เกลือแกงพร้อมกับปูนขาว เพราะจะเกิดการยับยั้งฤทธิ์ซึ่งกันและกัน) และควรใส่โดยการหว่านเป็นเม็ด
3. แก้ไขช่วงอากาศปิด มืดครึ้ม ซึ่งจะทำให้ปลาขาดออกซิเจน และตายได้ ด้วยวิธีการดังนี้
1) ถ่ายเทน้ำในบ่อออกแล้วเติมน้ำใหม่เข้าในบ่อแทน กรณีเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่ได้ให้ใส่เกลือแกงในปริมาณ 3-5% ของปริมาณน้ำในบ่อ
2) งดการให้อาหารปลาในบ่อประมาณ 1-2 วัน
3) ลดปริมาณความหนาแน่นของปลาในบ่อเลี้ยง
4) เพิ่มออกซิเจนในน้ำโดยใช้เครื่องตีน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำพ่นสู่บรรยากาศ
4. แก้ไขกรณีมีสารเคมีเข้าในบ่อ ซึ่งจะทำให้ปลาตายเนื่องจากสารเคมี ด้วยวิธีการดังนี้
1) หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของสัตว์น้ำที่อยู่ในบ่อ หากเห็นว่าปลาในบ่อเริ่มลอยหัวขึ้นเกยตลิ่ง หรือคลานขึ้นริมฝั่งตามริมขอบบ่อตายเป็นจำนวนมาก แสดงว่าบ่อเลี้ยงปลามีสารเคมีอันตรายปะปน ควรเร่งระบายน้ำเก่าออกแล้วนำน้ำใหม่เข้าบ่อแทน
2) กรณีแก้ไขไม่ทันทำให้ปลาตายหมดบ่อ ควรทำลายโดยการฝัง หรือเผา ไม่ควรนำปลามารับประทาน เพราะที่ตัวปลายังมีสารเคมีเจือปนอยู่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
3) บ่อเลี้ยงปลาที่มีปลาตายจากสาเหตุสารเคมีเจือปน ควรมีการระบายน้ำเก่าทิ้งทั้งหมดแล้วสูบน้ำใหม่เข้าไปเพื่อเลี้ยงรุ่นต่อไปใหม่ ซึ่งการจะปล่อยน้ำเสียออกจากบ่อควรมีการบำบัดเสียก่อน โดยการทำลายพิษของสารเคมี หรือในกรณีที่เป็นน้ำมัน ควรช้อนขึ้นจากบ่อและผิวน้ำให้หมดก่อนเพื่อป้องก้นการปล่อยสารพิษลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไม่เกิดความเสียหาย ห่างไกลจากปัญหาปลาน็อคน้ำ และเลี้ยงปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรควรเตรียมความพร้อมและรับมือด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยใดๆ สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โทรศัพท์ 073-631033 , 073-631038
เฉลี่ย :
4
จาก
1
ครั้ง.
ยอดเยี่ยม
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
แย่
อื่น ๆ5 อันดับล่าสุด
ดินเปรี้ยวจัด... ทำได้เห็นผล
16/ต.ค./2562
เขากวางอ่อน ผลิตผลสมุนไพรจากสัตว์
25/มี.ค./2562
กระจูด พืชท้องถิ่นสู่งานหัตถกรรมสร้างอาชีพ
14/ก.พ./2562
ดาหลา พืชร่วมยางพาราเสริมรายได้
22/ม.ค./2562
ปลูกอ้อยคั้นน้ำในพื้นที่ดินเปรี้ยว...สู่การสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน
13/ธ.ค./2561
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑๒
๔๐๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ๙๐๑๐๐ โทร.๐๗๔-๓๓๐๒๓๒-๙ แฟกซ์ ๐๗๔-๓๓๐๒๓๗