ฐานทางเศรษฐกิจของไทยขึ้นอยู่กับการเกษตรซึ่งต้องใช้ที่ดินเป็น ปัจจัยหลัก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เช่นกันต้องพึ่งพายางพาราไม้ผล ประมงและข้าว โดยเฉพาะเรื่องข้าว
3 จังหวัดมีพื้นที่นารวมกัน 634,015ไร่ แต่ขณะเดียวกันก็มีนาร้างถึง212,904 ไร่ ซึ่งถ้านาร้างเหล่านี้ เป็นนาดีหรือใช้ประโยชน์อื่นก็จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล พืช สำคัญที่สามารถปลูก
ในนาร้างได ้คือ ปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีอนาคตดีในการใช้ เป็นพลังงานทดแทน ราคาสูงตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่สำคัญราคาปาล์ม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตลาดโลกมากนัก เนื่องจากผลผลิตใช้ภายในประเทศทั้งสิ้น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูนาร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อปรับปรุงพื้นที่นาร้างกลับมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช เศรษฐกิจ
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการประกอบอาชีพการเกษตรให้มีรายได้มั่นคง มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม อันจะส่งผลด้านบวกต่อเหตุการณ์ความไม่สงบ
กรมพัฒนาที่ดิน ปรับปรุงพื้นที่โดยการขุดคู ยกร่อง ปรับปรุงคุณภาพดิน
กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดหากล้าพันธุ์ จัดตั้งสหกรณ์ สนับสนุนปุ๋ย 3 ปี
กรมวิชาการเกษตร อบรมให้ความรู้ การศึกษาดูงาน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ติดตามประเมินผล หน่วยงานสนับสนุน อบต. , เกษตรอำเภอ ฯลฯ
พื้นที่เป้าหมายเบื้องต้น
เพื่อขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน |
จังหวัด |
พื้นที่นาร้าง |
พื้นที่ทิ้งร้าง |
ไม้ผล* |
พื้นที่เสื่อมโทรม |
ดินเปรี้ยว |
ยางพาราในดินนา* |
พื้นที่ลุ่ม |
รวม |
พื้นที่ศักยภาพขยายปลูกปาล์ม |
นราธิวาส |
94,706 |
2,515 |
69,295 |
3,203 |
57,020 |
19,220 |
8,317 |
254,276 |
192,748 |
1. รวบรวมพื้นที่ - รายชื่อเกษตรกร
2. สำรวจออกแบบการขุดคู-ยกร่อง
3. การก่อสร้าง
4. การฝึก อบรม - ดูงาน
5. จัดตั้งสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน
6. จัดหาพันธุ์ปาล์ม ปุ๋ยรองพื้น
7. ปลูกปาล์ม - ดูแลรักษา
8. สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืชแซมในระหว่างที่ปาล์มยังไม่ให้ผลผลิต
ปี พ.ศ. |
2547/48 |
2549 |
2550 |
2551 |
2552 |
2553 |
2554 |
จำนวนพื้นที่ (ไร่) |
2,200 |
3,534 |
1,604 |
4,132 |
4,000-2-00 |
3,534-3-00 |
1,435 |
จำนวนเกษตร (ราย) |
|
|
|
|
|
|
|
|