ประกาศเจตนารมณ์ "No Gift Policy"

ช่องทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ "กรมพัฒนาที่ดิน"


N

ข่าวกิจกรรมสถานี

N

ข่าวกิจกรรมนักวิชาเกษตร สพด.

กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนา

Q

FAQ

คำถามที่พบบ่อย

คำตอบคือ ไม่

      อธิบายอย่างนี้ครับ หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่โดยตรงด้านการออกโฉนดที่ดินและออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินคือ กรมที่ดิน สังกัดกระทรวงมหาดไทย รายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมที่ดิน
     ในส่วนของสถานีพัฒนาที่ดิน และ กรมพัฒนาที่ดิน นั้นเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจหน้าที่ดังนี้
  1. ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และวิจัยดินและที่ดินเพื่อกำหนดนโยบาย และวางแผนการใช้ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน
  2. ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน
  3. ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว่า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร
  4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินหรือที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

มีครับ/ค่ะ เราอยากแนะนำตัวน้องดินดี คือน้องเค้าเป็นโปรแกรม Ai(ปํญญาประดิษฐ์) จะช่วยตอบคำถามในเบื้องต้นในตรงนี้ผ่านโปรแกรมไลน์หรือเฟสบุ๊ค แมสเซนเจอร์ ซึ่งเราใช้อยู่ทุกวันอยู่แล้ว ซึ่งได้รวบรวมคำตอบในเบื้องต้นไว้มากมาย ลองADDมาเป็นเพื่อนได้
https://www.messenger.com/t/ldd.go.th
หรือ
Add Line ผ่าน QR จากเว็บไซด์กรมพัฒนาที่ดิน
https://www.ldd.go.th/dindee/index.html

   ปฎิทินกิจกรรม & กำหนดการ

S

บริการประชาชน

ขอรับการขุดสระน้ำในไร่นา ( บ่อจิ๋ว )

avatar

โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน

         กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ กรมพัฒนาที่ดินจัดทำโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน โดยการขุดสระน้ำในไร่นา ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่าย 2,500 บาท/บ่อ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการบรรเทาสภาพปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพ การเก็บกักน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกร เพื่อเกษตรกรในพื้นที่นอกเขตชลประทานได้มีแหล่งน้ำที่เหมาะสม กับการเกษตร เป็นการสนับสนุนการทำเกษตรแบบผสมผสานตามหลักทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด ทั่วประเทศ

ประกาศให้ทราบกัน..........ทั้งอำเภอ

   ข่าวดี! งบปี 68 ขุดสระจิ๋วยังมีโค้วตานะจ๊ะ

ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี

มหัศจรรย์ พด.

ปั

จจุบันมีผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีการเผยแพร่ และส่งเสริมทั้งหมด 9 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณธาตุอาหารที่สูงขึ้น เรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สำหรับผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีการส่งเสริมเผยแพร่ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และจุลินทรีย์อีกหนึ่งกลุ่ม เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินที่มีปัญหาอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป

บริการวัสดุการเกษตร ออนไลน์

สารเร่ง พด. 1 - 12

“ดิ

น” เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรรู้จักดินของตนเอง เพื่อให้ทราบปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ปัญหาของดิน และวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญเราจะได้สามารถใช้ปุ๋ยได้เหมาะสมกับความต้องการของพืช

      การวิเคราะห์ดิน ในความหมายที่จำกัด หมายถึง การวิเคราะห์ดินทางเคมีอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ผลที่ประเมินสถานะธาตุอาหารในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพีช (plant available nutrient) และความเป็นพิษของธาตุบางชนิดในดิน

avatar

ดินเปรียบเสมือนฟองน้ำที่ให้ธาตุอาหารของพืชมาเกาะ ถ้าฟองน้ำหมดคุณภาพ ใส่ปุ๋ยลงไปเท่าไหร่ก็ไม่เกิดประโยชน์ ดินในแต่ละพื้นที่ต่างกัน การปลูกพืชก็ต่างกัน ความสามารถของพืชในการดึงธาตุอาหารในดินไปใช้ก็ต่างกัน ทำเกษตรมาหลายสิบปี เคยตรวจดินกันบ้างหรือไม่ โอกาสดีๆมาถึงแล้ว มาตรวจดินกันเถอะ !!!

เพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาของดินในแปลงปลูกพืช พร้อมกับคำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงบำรุงดิน เช่น การใช้ปุ๋ย การใช้ปูน ปรับปรุงดินกรด รวมทั้งการใช้วัสดุหรือสารปรับปรุงดินอย่างอื่น ตามความจำเป็นเพื่อให้การปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีคุณภาพดีขึ้น

ตัวอย่างดินที่เก็บมาต้องเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของที่ดินแปลงนั้น ถ้าเก็บตัวอย่างดินไม่ถูกต้อง ผลการวิเคราะห์ก็จะไม่ตรงกับสมบัติของดิน คำแนะนำการใช้ปุ๋ยและการจัดการดินจะผิดพลาดทั้งหมด หลักสำคัญของการเก็บตัวอย่างดินมีดังต่อไปนี้
  1. ควรเก็บหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว หรือก่อนเตรียมดินปลูกพืชครั้งต่อไป คำแนะนำจากผลการวิเคราะห์ดินหลายอย่างจะต้องนำมาใช้ให้ทันในการเตรียมดินปลูกพืช เช่น การใส่ปูน การไถกลบอินทรียวัตถุ การใส่ปุ๋ยรองพื้น เป็นต้น จะลงมือเก็บตัวอย่างดินเมื่อใดนั้น จะต้องเผื่อเวลาสำหรับการส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ ระยะเวลาทำงานของห้องปฏิบัติการ จนถึงการส่งผลกลับมาให้ รวมแล้วประมาณ 1-2 เดือน สำหรับการเก็บตัวอย่างดินเพื่อจะให้หน่วยวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่มาให้บริการให้นั้น จะต้องเก็บก่อนวันนัดหมาย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ตัวอย่างดินแห้งจึงจะวิเคราะห์ได้
  2. พื้นที่ที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่ควรเปียกแฉะหรือมีน้ำท่วมขังจะทำให้เข้าไปทำงานลำบาก แต่ถ้าแห้งเกินไปดินจะแข็ง ดินควรมีความชื้นเล็กน้อยจะทำให้ขุดและเก็บได้ง่ายขึ้น
  3. ไม่เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เคยเป็นบ้าน หรือโรงเรือนเก่า จอมปลวก เก็บให้ห่างไกลจากบ้านเรือน อาคารที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ และบริเวณจุดที่มีปุ๋ยตกค้างอยู่
  4. อุปกรณ์ที่เก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด ไม่เปื้อนดิน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือสารเคมีอื่น ๆ
  5. ต้องบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างดินของแต่ละตัวอย่างตามแบบฟอร์ม "บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน" ให้มากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำการจัดการดินให้ถูกต้องที่สุด

  1. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แก่ เครื่องมือสำหรับขุดหรือเจาะเก็บดิน เช่น พลั่ว จอบ และเสียม ส่วนภาชนะที่ใส่ดิน เช่น ถังพลาสติก กล่องกระดาษแข็ง กระบุง ผ้ายางหรือผ้าพลาสติก และถุงพลาสติกสำหรับใส่ตัวอย่างดินส่งไปวิเคราะห์
  2. ขนาดของแปลงที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่จำกัดขนาดแน่นอน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของพื้นที่ (ที่ราบ ที่ลุ่ม ที่ดิน ที่ลาดชัน เนื้อดิน สีดิน) ชนิดพืชที่ปลูกและ การใช้ปุ๋ย
  3. ลุ่มเก็บตัวอย่างดิน กระจายให้ครอบคลุมทั่วแต่ละแปลง ๆ ละ 15-20 จุดก่อนขุดดินจะต้องถางหญ้า กวาดเศษพืช หรือวัสดุที่อยู่ผิวหน้าดินออกเสียก่อน (อย่าแซะหรือปาดหน้าดินออก) แล้วใช้จอบ เสียมหรือพลั่ว ขุดหลุมเป็นรูป V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 15 เซนติเมตร หรือในระดับชั้นไถพรวน (สำหรับพืชทุกชนิด ยกเว้นสนามหญ้าเก็บจากผิวดินลึก 5 เซนติเมตร และไม้ยืนต้นเก็บจากผิวดินลึก 30 เซนติเมตร) แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่ง เป็นแผ่นหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากปากหลุมถึงก้นหลุม ดินที่ได้นี้เป็นดินจาก 1 จุด ทำเช่นเดียวกันนี้จนครบ นำดินทุกจุดใส่รวมกันในถึงพลาสติกหรือภาชนะที่เตรียมไว้
  4. ดินที่เก็บมารวมกันในถุงนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของที่ดินแปลงนั้น เนื่องจากดินมีความชื้นจึงต้องทำให้แห้ง โดยเทดินในแต่ละถังลงบนแผ่นผ้าพลาสติก หรือผ้ายางแยกกัน ถังละแผ่นเกลี่ยดินผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง ดินที่เป็นก้อนให้ใช้ไม้ทุบให้ละเอียดพอประมาณ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันจนทั่ว
  5. ตัวอย่างดินที่เก็บในข้อ 4 อาจมีปริมาณมากแบ่งส่งไปวิเคราะห์เพียงครึ่งกิโลกรัมก็พอ วิธีการแบ่งเกลี่ยตัวอย่างดินแผ่ให้เป็นรูปวงกลมแล้วแบ่งผ่ากลางออกเป็น 4 ส่วนเท่ากัน เก็บดินมาเพียง 1 ส่วน หนักประมาณครึ่งกิโลกรัมใส่ในถุงพลาสติกที่สะอาด พร้อมด้วยแบบฟอร์มที่บันทึกรายละเอียดของตัวอย่างดินเรียบร้อยแล้วปิดปากถุงให้แน่นใส่ในกล่องกระดาษแข็งอีกชึ้นหนึ่ง (ในกรณีที่ส่ง แบบพัสดุไปรษณีย์) เพื่อส่งไปวิเคราะห์

  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้านท่าน ( สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ) หรือส่งไปที่กรมวิชาการเกษตรรับบริการตรวจวิเคราะห์ดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และวัสดุปรับปรุงดินให้กับเกษตรกรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี จะต้องให้เกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอมีหนังสือรับรองว่าเป็นเกษตรกรจริง
  • หรือส่งไปที่สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 เสียค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์ดิน
  • ตัวอย่างดินเมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว จะส่งผลกลับไปให้พร้อมกับคำแนะนำวิธีการแก้ไขปรับปรุงดิน และการใช้ปุ๋ยกับพืชที่ต้องการปลูก
  • วิธีส่งตัวอย่างดิน สามารถทำได้หลายช่องทาง อาทิ ส่งทางพัสดุไปรษณีย์ นำไปส่งด้วยตนเอง ฝากหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านมาส่ง หรือฝากให้เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมาส่งให้ก็ได้

450
หมอดินอาสาจังหวัดปัตตานี
1
หมอดินจังหวัด
12
หมอดินอำเภอ
111
หมอดินตำบล
450
หมอดินหมู่บ้าน
หน้าเว็บไซต์ หมอดินอาสา

ถึงพี่น้องเกษตรกรทุกท่าน

ดินมีปัญหา ปรึกษา "พัฒนาที่ดิน"

สพด.ปัตตานี ให้บริการประชาชน :
วิเคราะห์ตัวอย่างดิน, สารเร่ง พด. , หญ้าแฝก, ปุ๋ยพืชสด(ปอเทือง), ขุดสระบ่อจิ๋ว, ให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านวิชาการเรื่องดิน

สายด่วน 073-340272

A

ประกาศ