-
Hilight ข่าว รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12, ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี และหัวหน้าส่วนราชการ
สพด.ปัตตานีให้การต้อนรับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ โรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
วันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา 10:30 น. นายศรีศักดิ์ ธานี ผอ.สพข.12 นายปรีชา เจ้ยทองศรี ผอ.สพด.ปัตตานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ให้การต้อนรับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ โรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้องเกษตรกรเพื่อรับทราบปัญหาต่างๆของพี่น้องเกษตรกรที่เดือดร้อน แล้วจะได้นำมาแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังมีการผลักดันกิจกรรมโครงการอุตสาหกรรมฮาลาลให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านศอ.บต เพื่อเพิ่มศักยภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้า เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้หลายช่องทาง พร้อมกันนี้ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งมอบแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน (บ่อจิ๋ว) ขนาด 1,260 ลบ.ม. มอบเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด(ปอเทือง) และสารปรับปรุงดิน(โดโลไมท์) ให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสามารถต่อยอดการทำการเกษตรให้ยั่งยืนได้
รายงาน/ภาพ : เจ้าหน้าที่สพด.ปัตตานี -
Hilight ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 1/2565
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12, ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี และหัวหน้าส่วนราชการ
สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีจัดประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 1/2565
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 เวลา 09.30 น. สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีจัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุมศรีนครา ชั้น 4 อาคาร 2 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี โดยมีนายยะห์ยา ปะนาฆอ ปลัดจังหวัดปัตตานีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาการจำแนกประเภทที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ถาวรนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธ์สัตวป่าที่ยังไม่ได้สำรวจและจำแนก และพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบการจำแนกประเภทที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ถาวรนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ที่ยังไม่ได้สำรวจและจำแนกประเภทที่ดิน จังหวัดปัตตานี จำนวน 10 ป่า 28 แปลง เนื้อที่ 12,180 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ 19 ตำบล และมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ เพื่อดำเนินการสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัด พิจารณาต่อไป
รายงาน/ภาพ : เจ้าหน้าที่สพด.ปัตตานี -
Hilight งานวันดินโลก ปี 2564
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12, ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี และหัวหน้าส่วนราชการ
งานวันดินโลก ปี 2564 @สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ภายใต้หัวข้อ “Halt soil salinization, boost soil productivity"
วันที่ 28 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 น. สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี จัดงานวันดินโลก ปี 2564 @สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ภายใต้หัวข้อ “Halt soil salinization, boost soil productivity : พิชิตดินเค็ม เติมเต็มผลผลิต สร้างชีวิตเกษตรกร” โดยมีนายณัฐกฤช สิทธิโอสถ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเป็นประธานเปิดงาน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะ..
รายงาน/ภาพ : สพด.ปัตตานี -
Hilight ข่าวผู้บริหารกรมพัฒนาที่ดิน
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12, ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี และหัวหน้าส่วนราชการ
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นประธานเปิดงาน Kick Off โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดปัตตานี
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิด โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดปัตตานี วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564 นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่พัฒนาที่ดินเขต 12 จังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดงาน Kick off โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดปัตตานี พบปะกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและแรงงานเกษตร ณ แปลงเกษตรกรนางอนุศรา เดชศิริ ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ ภายในพื้นที่กำลังอยู่ระหว่างขุดสระน้ำและมีแผนการดำเนินการแบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็นบ่อเลี้ยงปลา สระน้ำเพื่อการเกษตร แปลงเกษตรผสมผสาน พื้นที่ปศุสัตว์(เลี้ยงเป็ด ไก่เบตง) จังหวัดปัตตานีมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 24 ราย ในพื้นที่ 3 อำเภอ 6 ตำบล พื้นที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ขนาด 3 ไร่
http://ofs101.ldd.go.th/LDDNews/RAPHOTO/photo.asp
รายงาน/ภาพ : สำนักอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน -
Hilight ข่าวผู้บริหาร สพด.ปัตตานี
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12, ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี และหัวหน้าส่วนราชการ
ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ติดตามผลการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการแก้ไข้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนใต้
วันที่ 8 กันยายน 2564 สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี นำโดยนายมงคล นิตยบูรณ์ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี และเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ลงพื้นที่รับผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ในการติดตามผลการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการแก้ไข้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนใต้ ณ แปลงนายเจริญ ทองปล้องโต หมู่ 1 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นแปลงโครงการพัฒนาพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกพืชเกษตรผสมผสาน ในความดูแลของสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี
-
สพด.ปัตตานี ให้บริการประชาชน : ให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านวิชาการเรื่องดิน , วิเคราะห์ตัวอย่างดิน, สารเร่ง พด. , หญ้าแฝก, ปุ๋ยพืชสด(ปอเทือง), ขุดสระบ่อจิ๋ว
สายด่วน 073-340272
ผอ.ปรีชา เจ้ยทองศรีผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี
-
ดินและน้ำคือพื้นฐานของการเกษตร พื้นที่ใดที่ดินและน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่นั้นพืชพันธุ์เจริญงอกงาม ผลิดอกออกผลมากมาย นำมาซึ่งรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดี. ซึ่งการปรับปรุงดินให้ดีขึ้นได้นั้น เกษตรกรอย่างเราๆนั้นก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง และ สพด. เราก็พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง
ผอ.มงคล นิตยบูรณ์ผอ.สพด.ปัตตานี( เกษียณอายุราชการปี 2564)
N
ข่าวกิจกรรมสถานี
-
นายยะห์ยา ปะนาฆอ ปลัดจังหวัดปัตตานีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาการจำแนกประเภทที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ถาวรนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธ์สัตวป่าที่ยังไม่ได้สำรวจและจำแนก และพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบการจำแนกประเภทที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ถาวรนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ที่ยังไม่ได้สำรวจและจำแนกประเภทที่ดิน จังหวัดปัตตานี จำนวน 10 ป่า 28 แปลง เนื้อที่ 12,180 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ 19 ตำบล และมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ เพื่อดำเนินการสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัด พิจารณาต่อไป
อ่านต่อ... เพิ่มเติม
-
8 มิถุนายน 65
สพด.ปัตตานี ออกบูธร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ประจำปี 2565
62 Comments
นายปรีชา เจ้ยทองศรี ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ และกลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ปีงบประมาณ 2565 จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเกษตรกรในพื้นที่ ร่วมพิธีเปิดและเข้ารับบริการทางการเกษตร ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
โดยมีนายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในพิธี พร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมของหน่วยงานและพบปะเกษตรกรที่มารับบริการ ในส่วนของสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีได้ให้บริการเกษตรกรและผู้มาร่วมงานในด้านความรู้เรื่องของการปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนสารเร่งซุปเปอร์ พด. น้ำหมักชีวภาพ จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และบริการตรวจวิเคราะห์ดิน ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรที่เข้าร่วมงาน
อ่านต่อ... เพิ่มเติม
สำหรับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ฯ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกร ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเกษตรอย่างครบวงจรในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านพืช ดิน ปศุสัตว์ ประมง โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการและหน่วยงานส่งเสริม นำบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ความรู้ด้านการเกษตรมาให้บริการแก่พี่น้องเกษตรกรถึงในพื้นที่โดยไม่ต้องเดินทางไกล สามารถขับเคลื่อนให้ “ภาคเกษตรมั่นคง เกษตรกรมั่งคั่ง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน” เน้นการทำการเกษตรที่มีความปลอดภัย ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยกระดับสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมการทำการเกษตรแบบเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเกษตรกรมารับบริการและร่วมงานในวันนี้ ไม่น้อยกว่า 150 คน ได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาคีร่วมทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี
-
27 เมษายน 65
สพด.ปัตตานี ต้อนรับคณะทำงานพิจารณารางวัลปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) ประจำปี 2565
743 Comments
นายปรีชา เจ้ยทองศรี ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานราชการและเจ้าหน้าที่ สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ร่วมต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินโครงการฯ นำโดยนายสมศักดิ์ สุขจันทร์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ประธานคณะทำงานพิจารณารางวัลปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) ประจำปี 2565 เนื่องในวันสถาปนากรมพัฒนาที่ดิน และคณะทำงานฯ พิจารณาคัดเลือกรางวัลฯ ลงพื้นที่ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แปลงที่ 7 เกษตรกรนายเจะอามีดีน เจะดือราแม พื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 2.5 ไร่ เดิมปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม ได้ผลผลิตต่ำ ปลูกข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือน ได้รับการปรับรูปแปลงนา เปลี่ยนเป็นปลูกพืชผสมผสาน พืชผักสวนครัว ได้แก่ มะระ พริก แตงกวา มีรายได้จากการทำเกษตรผสมผสาน 15,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้จากการคณะฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม รับฟังปัญหาการดำเนินงานของเกษตรกร และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้
อ่านต่อ... เพิ่มเติม
1) พื้นที่หมู่ 3 และ 5 ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ( N ) เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังแต่ละครั้งยาวนานข้าวบางปีเสียหาย ได้ผลผลิตน้อย และเกษตรกรผลิตข้าวพันธ์พื้นเมืองเพื่อบริโภคในครัวเรือน โดยการปรับเปลี่ยนไปเป็น พืชผักหมุนเวียน ประกอบด้วย มะระ แตงกวา ถ้าฝนน้อยกว่าปกติ เกษตรกรมักปลูกฟักทอง หรือแตงโม เป็นเขตเกษตรน้ำฝน
2) พื้นที่ 3 ใน 10 ส่วนได้รับความเสียหายจากการดำเนินโครงการฯ ด้วยสภาพปัญหา “ลานีญา” ยังแรงไม่ตกยืดเยื้อสู่ปีที่สาม โดยระดับความรุนแรงในเดือนมีนาคม 2565 ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นจากนี้ไปและจะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติเกือบทุกพื้นที่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ฤดูฝนจะมาเร็ว ปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าปกติถึงเดือนมิถุนายน โดยเดือนมิถุนายน-สิงหาคม บางพื้นที่จะมีฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ
3) ด้วยสภาพทางสังคม และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ส่วนหนึ่ง เมื่อประเมินแล้วโดยทั่วไป การถือครองที่ดินต่อครัวเรือนต่ำมาก และต่ำที่สุดในประเทศไทยหากเทียบจากค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดินต่อครัวเรือนทั้งประเทศ ดังนั้นการส่งเสริมด้านแหล่งน้ำขนาดเล็กจึงมีโอกาสเป็นไปได้แต่จะอยู่ในวงจำกัด พื้นที่นี้เกษตรกรผลิตข้าวพันธ์พื้นเมือง (ซีบูกันตัง) เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น ปัจจุบันผลผลิตยังต่ำกว่า 350 กิโลกรัม/ ไร่
-
08 เมษายน
จัดกิจกรรมรณรงค์การไถกลบตอซังเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน ปี 2564
สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีจัดกิจกรรมรณรงค์การไถกลบตอซังเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน ปี 2564 ณ แปลงนาหมู่ที่ 5 บ้านพอเหมาะ ตำบลทุ่งคล้า อำเภอสายบุรีโดยมีนายอำเภอสายบุรีเป็นประธานในการเปิดกิจกรรมมีการให้ความรู้ ทำความเข้าใจต่อเกษตรกรในหมู่บ้าน และร่วมกันหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด(ปอเทือง) รอการไถกลบอีกครั้งหนึ่งกิจกรรมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
-
23 มีนาคม
รณรงค์งดเผาฟางและตอซังพืช บางเขา หนองจิก ปัตตานี ปี 64
สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีจัดกิจกรรมรณรงค์งดเผาฟางและตอซังพืชในปีนี้ดำเนินการในพื้นที่ บ้านบางทัน ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิกสร้างการรับรู้ และตระหนักในการฟื้นฟูบำรุง ปรับปรุงดินหลังการเก็บเกี่ยว และเตรียมความพร้อมในฤดูการผลิตต่อไป ได้รับเกียรติจากนายอำเภอหนองจิกเป็นประธาน เกษตรกรเข้าร่วม 150 ราย
-
05 Apr
How to make your lawn & landscape look it's best?
A blog post sample excerpt text which can be edited by editing the blog post page...
-
23 มีนาคม
ชิลล์ๆ สพด.ตานี ร่วม Fieldday. @แม่ลาน
สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีร่วมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการดินสำหรับปลูกมะพร้าว และพืชต่างๆ ในกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเริ่มต้นฤดูการผลิต ณ บ้านใหม่ ตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน มีเกษตรกรเข้าร่วม รวม 240 คน
-
17 มีนาคม
สพด.ปัตตานี ร่วมงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นการผลิตใหม่ (Field Day)”
สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานีร่วมงาน วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day)อำเภอไม้แก่น ร่วมกับหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมสนับสนุนสารเร่ง พด.1,2,3,6 และ 7 ...
-
05 Apr
How to make your lawn & landscape look it's best?
A blog post sample excerpt text which can be edited by editing the blog post page...
S
บริการประชาชน
ประกาศให้ทราบกัน..........ทั้งอำเภอ
ข่าวดี! งบปี 67 ขุดสระจิ๋วยังมีโค้วตานะจ๊ะ ยื่นเรื่องเข้ามาเลย
ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี
“ดิ
น” เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรรู้จักดินของตนเอง เพื่อให้ทราบปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ปัญหาของดิน และวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญเราจะได้สามารถใช้ปุ๋ยได้เหมาะสมกับความต้องการของพืช
การวิเคราะห์ดิน ในความหมายที่จำกัด หมายถึง การวิเคราะห์ดินทางเคมีอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ผลที่ประเมินสถานะธาตุอาหารในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพีช (plant available nutrient) และความเป็นพิษของธาตุบางชนิดในดิน

ดินเปรียบเสมือนฟองน้ำที่ให้ธาตุอาหารของพืชมาเกาะ ถ้าฟองน้ำหมดคุณภาพ ใส่ปุ๋ยลงไปเท่าไหร่ก็ไม่เกิดประโยชน์ ดินในแต่ละพื้นที่ต่างกัน การปลูกพืชก็ต่างกัน ความสามารถของพืชในการดึงธาตุอาหารในดินไปใช้ก็ต่างกัน ทำเกษตรมาหลายสิบปี เคยตรวจดินกันบ้างหรือไม่ โอกาสดีๆมาถึงแล้ว มาตรวจดินกันเถอะ !!!
เพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาของดินในแปลงปลูกพืช พร้อมกับคำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงบำรุงดิน เช่น การใช้ปุ๋ย การใช้ปูน ปรับปรุงดินกรด รวมทั้งการใช้วัสดุหรือสารปรับปรุงดินอย่างอื่น ตามความจำเป็นเพื่อให้การปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีคุณภาพดีขึ้น
ตัวอย่างดินที่เก็บมาต้องเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของที่ดินแปลงนั้น ถ้าเก็บตัวอย่างดินไม่ถูกต้อง ผลการวิเคราะห์ก็จะไม่ตรงกับสมบัติของดิน คำแนะนำการใช้ปุ๋ยและการจัดการดินจะผิดพลาดทั้งหมด
หลักสำคัญของการเก็บตัวอย่างดินมีดังต่อไปนี้
- ควรเก็บหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว หรือก่อนเตรียมดินปลูกพืชครั้งต่อไป คำแนะนำจากผลการวิเคราะห์ดินหลายอย่างจะต้องนำมาใช้ให้ทันในการเตรียมดินปลูกพืช เช่น การใส่ปูน การไถกลบอินทรียวัตถุ การใส่ปุ๋ยรองพื้น เป็นต้น จะลงมือเก็บตัวอย่างดินเมื่อใดนั้น จะต้องเผื่อเวลาสำหรับการส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ ระยะเวลาทำงานของห้องปฏิบัติการ จนถึงการส่งผลกลับมาให้ รวมแล้วประมาณ 1-2 เดือน สำหรับการเก็บตัวอย่างดินเพื่อจะให้หน่วยวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่มาให้บริการให้นั้น จะต้องเก็บก่อนวันนัดหมาย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ตัวอย่างดินแห้งจึงจะวิเคราะห์ได้
- พื้นที่ที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่ควรเปียกแฉะหรือมีน้ำท่วมขังจะทำให้เข้าไปทำงานลำบาก แต่ถ้าแห้งเกินไปดินจะแข็ง ดินควรมีความชื้นเล็กน้อยจะทำให้ขุดและเก็บได้ง่ายขึ้น
- ไม่เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เคยเป็นบ้าน หรือโรงเรือนเก่า จอมปลวก เก็บให้ห่างไกลจากบ้านเรือน อาคารที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ และบริเวณจุดที่มีปุ๋ยตกค้างอยู่
- อุปกรณ์ที่เก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด ไม่เปื้อนดิน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือสารเคมีอื่น ๆ
- ต้องบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างดินของแต่ละตัวอย่างตามแบบฟอร์ม "บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน" ให้มากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำการจัดการดินให้ถูกต้องที่สุด
- เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แก่ เครื่องมือสำหรับขุดหรือเจาะเก็บดิน เช่น พลั่ว จอบ และเสียม ส่วนภาชนะที่ใส่ดิน เช่น ถังพลาสติก กล่องกระดาษแข็ง กระบุง ผ้ายางหรือผ้าพลาสติก และถุงพลาสติกสำหรับใส่ตัวอย่างดินส่งไปวิเคราะห์
- ขนาดของแปลงที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่จำกัดขนาดแน่นอน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของพื้นที่ (ที่ราบ ที่ลุ่ม ที่ดิน ที่ลาดชัน เนื้อดิน สีดิน) ชนิดพืชที่ปลูกและ การใช้ปุ๋ย
- ลุ่มเก็บตัวอย่างดิน กระจายให้ครอบคลุมทั่วแต่ละแปลง ๆ ละ 15-20 จุดก่อนขุดดินจะต้องถางหญ้า กวาดเศษพืช หรือวัสดุที่อยู่ผิวหน้าดินออกเสียก่อน (อย่าแซะหรือปาดหน้าดินออก) แล้วใช้จอบ เสียมหรือพลั่ว ขุดหลุมเป็นรูป V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 15 เซนติเมตร หรือในระดับชั้นไถพรวน (สำหรับพืชทุกชนิด ยกเว้นสนามหญ้าเก็บจากผิวดินลึก 5 เซนติเมตร และไม้ยืนต้นเก็บจากผิวดินลึก 30 เซนติเมตร) แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่ง เป็นแผ่นหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากปากหลุมถึงก้นหลุม ดินที่ได้นี้เป็นดินจาก 1 จุด ทำเช่นเดียวกันนี้จนครบ นำดินทุกจุดใส่รวมกันในถึงพลาสติกหรือภาชนะที่เตรียมไว้
- ดินที่เก็บมารวมกันในถุงนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของที่ดินแปลงนั้น เนื่องจากดินมีความชื้นจึงต้องทำให้แห้ง โดยเทดินในแต่ละถังลงบนแผ่นผ้าพลาสติก หรือผ้ายางแยกกัน ถังละแผ่นเกลี่ยดินผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง ดินที่เป็นก้อนให้ใช้ไม้ทุบให้ละเอียดพอประมาณ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันจนทั่ว
- ตัวอย่างดินที่เก็บในข้อ 4 อาจมีปริมาณมากแบ่งส่งไปวิเคราะห์เพียงครึ่งกิโลกรัมก็พอ วิธีการแบ่งเกลี่ยตัวอย่างดินแผ่ให้เป็นรูปวงกลมแล้วแบ่งผ่ากลางออกเป็น 4 ส่วนเท่ากัน เก็บดินมาเพียง 1 ส่วน หนักประมาณครึ่งกิโลกรัมใส่ในถุงพลาสติกที่สะอาด พร้อมด้วยแบบฟอร์มที่บันทึกรายละเอียดของตัวอย่างดินเรียบร้อยแล้วปิดปากถุงให้แน่นใส่ในกล่องกระดาษแข็งอีกชึ้นหนึ่ง (ในกรณีที่ส่ง แบบพัสดุไปรษณีย์) เพื่อส่งไปวิเคราะห์
- สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้านท่าน ( สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ) หรือส่งไปที่กรมวิชาการเกษตรรับบริการตรวจวิเคราะห์ดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และวัสดุปรับปรุงดินให้กับเกษตรกรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี จะต้องให้เกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอมีหนังสือรับรองว่าเป็นเกษตรกรจริง
- หรือส่งไปที่สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 เสียค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์ดิน
- ตัวอย่างดินเมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว จะส่งผลกลับไปให้พร้อมกับคำแนะนำวิธีการแก้ไขปรับปรุงดิน และการใช้ปุ๋ยกับพืชที่ต้องการปลูก
- วิธีส่งตัวอย่างดิน สามารถทำได้หลายช่องทาง อาทิ ส่งทางพัสดุไปรษณีย์ นำไปส่งด้วยตนเอง ฝากหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านมาส่ง หรือฝากให้เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมาส่งให้ก็ได้
-
Time to stay with your family using our services
Vestibulum quam nisi, pretium a nibh sit amet, consectetur hendrerit mi. Aenean imperdiet lacus sit amet elit porta...
Read more -
How to make your lawn & landscape look it's best?
Vestibulum quam nisi, pretium a nibh sit amet, consectetur hendrerit mi. Aenean imperdiet lacus sit amet elit porta...
Read more
-
กรมพัฒนาที่ดิน ได้ริเริ่มจัดตั้งหมอดินอาสาใน ปี 2538 เริ่มต้นจากหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน และจัดให้มีผู้แทนหมอดินอาสาระดับตำบล อำเภอ จังหวัด จนปัจจุบันมีอาสาหมอดินจำนวนมากถึง 77,000 คน นับเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญของกรมพัฒนาที่ดิน ตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษ จากการทุ่มเททำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ จนกรมพัฒนาที่ดินได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า กรมหมอดิน
หมอดินอาสากรมพัฒนาที่ดิน -
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Nulla convallis egestas rhoncus. Donec facilisis fermentum sem, ac viverra ante luctus vel. Donec vel mauris quam.
Willie & Heather ObrienLaketown
ชื่อจังหวัด | อำเภอ | ตำบล | นามสกุล | ประเภท | จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
---|---|---|---|
1 | Mark | Otto | @mdo |
2 | Jacob | Thornton | @fat |
3 | Larry | the Bird | |
3 | Larry | the Bird | |
3 | Larry | the Bird |
ถึงพี่น้องเกษตรกรทุกท่าน
ดินมีปัญหา ปรึกษา "พัฒนาที่ดิน"
สพด.ปัตตานี ให้บริการประชาชน :
สายด่วน 073-340272
วิเคราะห์ตัวอย่างดิน, สารเร่ง พด. , หญ้าแฝก, ปุ๋ยพืชสด(ปอเทือง), ขุดสระบ่อจิ๋ว, ให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านวิชาการเรื่องดิน
Add quick, dynamic tab functionality to transition through panes of local content, even via dropdown menus. Nested tabs are not supported.
Activates a tab element and content container. Tab should have either a data-target or an href targeting a container node in the DOM. In the above examples, the tabs are the s with data-toggle="tab" attributes.
L
LDD-LINK.



L
LDD-HotLINK.
รวมลิงค์สำคัญๆ










M
Mobile-App.
โมบายล์แอปพลิเคชั่น







