ข่าวผู้บริหาร กรมพัฒนาที่ดิน

การปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว

         

ข้าวโพดฝักสด หมายถึง ข้าวโพดทุกชนิดที่คนเราใช้เป็นอาหารก่อนที่เมล็ดข้าวโพดจะเกิดขึ้นก่อนเมล็ดจะแก่ ซึ่งในปัจจุบันข้าวโพดฝักสดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและของโลกสำหรับข้าวโพดฝักสดในประเทศไทย ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพด ฝักอ่อน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน

แต่ที่สำคัญคือ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน เป็นการบริโภคในท้องถิ่นและในอนาคตด้านตลาดมีแนวโน้มที่จะขยายมากขึ้น ข้าวโพดหวานเป็นพืชอายุสั้นให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรผู้ปลูกอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถจำหน่ายได้ในตลาดบริโภคสดและโรงงานอุตสาหกรรมกระป๋อง

 

 

 

ข้าวโพดหวาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์ซุปเปอร์สวิท พันธุ์ซุปเปอร์ฮาร์โก้ เกษตรกรสามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น เหมาะสำหรับจำหน่ายในตลาดบริโภคสด

พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พันธุ์อินทรี 2 พันธุ์ซูก้าร์ 73 พันธุ์ซูการ์ 74 พันธุ์ไฮ-บริทช์ 5 พันธุ์เอทีเอส-2 พันธุ์รอยัลสวีท พันธุ์ยูนิซีดส์ พันธุ์สวิททูโทน เป็นต้น ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดบริโภคสด และโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรไม่สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้

ข้าวโพดฝักอ่อน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

พันธุ์ผสมเปิด ลักษณะฝักไม่ค่อยสม่ำเสมอ สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้และจะต้องปลูกห่างจากพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 200 เมตร หรือทิ้งช่วงการปลูกจากพันธุ์อื่นไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ ได้แก่ พันธุ์เชียงใหม่ 90 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 48 วันหลังงอก พันธุ์สุวรรณ 2 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 45 วันหลังงอก

พันธ์ลูกผสม ลักษณะฝักสม่ำเสมอ ผลผลิตสูงเป็นที่ต้องการของโรงงาน เกษตรกรไม่สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 พันธ์ G 5414 พันธุ์แปซิฟิค 116 พันธุ์แปซิฟิค 421 พันธุ์ IBG 710 เป็นต้น

พันธ์ข้าวเหนียว ได้แก่ข้าวโพดหวานพิเศษขอนแก่น ผลิตโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเมล็ดสีขาวขุ่น กลิ่นหอมอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 65-70 วัน

ข้าวโพดเทียน ได้แก่ ข้าวโพดเทียนสีขาว พันธุ์ SSRTW 8801 (สุโขทัย 1) ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร อายุเก็บเกี่ยว 56-65 วัน ผลผลิตจำนวนฝักทั้งหมด 22,218 ฝัก/ไร่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ

ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้

ข้าวโพดฝักสดสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชลประทาน ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี ดินมีความเป็นกรด-ด่าง (PH) ประมาณ 5.5-6.8 สามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 2-3 พันเมตร อุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของตันข้าวโพด

แหล่งปลูกข้าวโพด
ภาคเหนือ
 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี พะเยา ลำปาง แพร่ เชียงราย เชียงใหม่และลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดเลย
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชัยนาท สระบุรี และลพบุรี
ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์

 

 

 

 

วิธีการปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดหวาน)

1. ฤดูปลูก ข้าวโพดหวานสามารถปลูกได้ทั้งปีในบางพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ สามารถปลูกในเดือนเมษายนเพราะการปลูกช่วงนี้ไม่มีปัญหาเรื่องพันธุ์อื่นๆ มาปะปน ช่วงปลูกที่เหมาะสมคือ ประมาณปลายเดือนกันยายนเพราะไม่จำเป็นต้องให้น้ำ หรืออาจให้บ้างในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว

2. การเตรียมดิน ไถตะ 1 ครั้ง แล้วตากดิอนไว้ 7-15 วัน หว่านปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกเพิ่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินประมาณ 1-2 ตัน/ไร่ (ในดินเหนียวควรเพิ่มแกลบและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มเป็น 2-4 ตัน/ไร่) ไถแปร 1-2 ครั้งเพื่อย่อยดินให้เหมาะสมต่อการยกแปลงปลูก

3. ระยะปลูก มี 2 แบบ คือ แบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่าง แถว 75 เซนติเมตรระหว่างตัน 30 เซนติเมตรแบบแถวคู่ (แบบแปลงผัก) ชักร่องกว้าง 120 เซนติเมตร ปลูกข้างสันร่องทั้ง 2 ด้าน ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร

4. การปลูก ข้าวโพดหวานใช้เมล็ดพันธุ์ 1-15 กิโลกรัม

5. การใส่ปุ๋ยมี 2 ระยะคือ รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสม และใส่ปุ๋ยแต่งหน้า 2 ครั้ง เมื่ออายุ 25-30 วันละ 40-45 วัน

ข้าวโพดหวาน ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,800 กิโลกรัม/ไร่
ข้าวโพดฝักอ่น ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,500 กิดลกรัม/ไร่
ข้าวโพดข้าวเหนียว ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลกรัม/ไร่
ข้าวโพดเทียน ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลกรัม/ไร่

 

 

แนวโน้มในอนาคตของข้าวโพดฝักสด

1. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันการส่งออกสูงเพราะข้าวโพดฝักสดสามารถแปรรูปผลผลิตได้หลายรูปแบบ สามารถส่งออกได้ทั้งในตลาดยุโรป อเมริกา อาฟริกา นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศก็มีความต้องการบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง

2. การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดฝักสดไม่มีปัญหาทางด้านโภชนาการ เนื่องจาก ในขั้นตอนการผลิตมีการใช้สารเคมีน้อย ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีน้อยมาก

3. เป็นพืชที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ง่ายเพราะเป็นพืชระยะเวลาการผลิตสั้น (ใช้ระยะเวลาเพียง 45-50 วัน สำหรับข้าวโพดฝักอ่อน และ 70-75 วัน สำหรับข้าวโพดหวาน) และสามารถปลูกได้ตลอดปี ดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตสูงมีความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสามารถทำได้โดยใช้พันธุ์และวิธีการผลิตที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำชลประทาน

4. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นพืชอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวาน เพราะเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูน้อย นอกจากนี้ พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความต้านทานโรคที่สำคัญได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อน

ตลาด และผลตอนแทน

ข้าวโพดหวานประมาณร้อยละ 50 ที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ในปี 2548 คิดเป็นประมาณ 109,774 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศผู้ส่งออกข้าวโพดหวานในตลาดโลกข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนที่เก็บส่วนของฝักออกไปใช้ประโยชน์แล้ว ส่วนของต้นและใบยังคงเหลือในแปลงรวมไปถึงกาบหุ้มฝัก ไหม ช่อดอกตัวผู้ของข้าวโพดฝักอ่อนและ ซังข้าวโพดที่เหลือจากโรงงานอุสาหกรรมยังสามารถนำเป็นอาหารสัตว์ได้ดี

แหล่งที่มา :  http://www.moac.go.th (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ )

เรียบเรียงบทความ : http://www.thaiarcheep.com/ (ไทยอาชีพ ดอทคอม )