Strict Standards: Only variables should be assigned by reference in D:\xampp\htdocs\trg\plugins\content\responsive_slideshare\responsive_slideshare.php on line 43

Strict Standards: Only variables should be assigned by reference in D:\xampp\htdocs\trg\plugins\content\wsfbcom\wsfbcom.php on line 30

Strict Standards: Only variables should be assigned by reference in D:\xampp\htdocs\trg\plugins\content\wsfbcom\wsfbcom.php on line 94

faqs 2

คำถามเกี่ยวกับดิน คำตอบ
1. ปัญหาดินกรด ดินที่เป็นกรด จะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือค่าพีเอช น้อยกว่า 7 แต่อย่างไรก็ตามระดับความเป็นกรดที่เป็นปัญหาต่อการเพาะปลูกพืช และการเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมทางดิน จะเกิดอย่างรุนแรงเมื่อค่าพีเอชของดินต่ำกว่า 5.5 ดังนั้นในทางวิชาการ ปัญหาดินกรดจึงนิยามว่าเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือพีเอชต่ำกว่า 5.5
2. ปัญหาดินเค็ม ดินเค็มคืออะไร ทำไมดินเค็มจึงทำการเกษตรกรรมไม่ได้

ดินเค็มคือ ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืชดินเค็มที่พบโดยทั่วๆ ไป จำแนกได้ดังนี้

1.ดินเค็ม (Saline soil)

2.ดินโซดิก (Sodic soil)

3.ดินเค็มโซดิน (Saline-solic soil)

ซึ่งปัญหาดินเค็มโดยทั่วไปพื้นที่ดินเค็มจะมีปัญหาปลูกพืชไม่ได้ ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ พืชมักจะเกิดอาการขาดน้ำและได้รับพิษจากธาตุเป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเดียมและคลอไรด์มีผลให้โครงสร้างของดินเลวลง ดินแน่น รากพืชชอนไชไปได้ยาก นอกจากนี้ความเค็มยังมีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารอื่นๆ เช่น โบรอน สังกะสี เป็นต้น หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผลต่อผลผลิตทางเกษตรอย่างยิ่งยวด

3. การนำตัวอย่างดินไปทดสอบคุณสมบัติดิน จะนำไปทดสอบได้ที่ไหนบ้าง สามารถนำตัวอย่างดินมาติดต่อรับบริการได้ที่สถานีพัฒนาที่ดิน ในวันและเวลาราชการ
4.การเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องควรเก็บอย่างไร

การเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้อง
- ควรเก็บหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว หรือก่อนเตรียมดินปลูกพืชครั้งต่อไป
- พื้นที่ที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่ควรเปียกแฉะหรือมีน้ำท่วมขัง
- ไม่ควรเก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เคยเป็นบ้าน โรงเรือนเก่า โรงงาน จอมปลวก คอกสัตว์ และจุดที่มีปุ๋ยตกค้าง
- อุปกรณ์เก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด
- บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน

วิธีเก็บตัวอย่างดิน
 - แบ่งพื้นที่  ให้ดูลักษณะของพื้นที่ในแปลงมีความแตกต่างกันหรือไม่  ให้แบ่งโซนตามความต่างนั้นแยกเป็นคนละตัวอย่าง
- สุ่มเก็บตัวอย่าง แปลงขนาด 10-20ไร่  ให้เก็บประมาณ 10-20จุด 
- ใช้จอบ เสียม หรือพลั่ว ขุดหลุมเป็นรูป V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 15 ซม. แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่ง เป็นแผ่นหนาประมาณ 2-3 ซม. จากปากหลุมถึงก้นหลุม ดินที่ได้นี้เป็นดินจาก 1 จุด ทำเช่นนี้จนครบ  นำดินทุกจุดมาใส่รวมกันในถังพลาสติกหรือภาชนะที่เตรียมไว้
- คลุกเคล้าดินให้เข้ากัน เกลี่ยตัวอย่างดินให้เป็นวงกลม เก็บตัวอย่างดินมา 1 ส่วนประมาณครึ่งกิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดพร้อมแบบฟอร์มบันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน ปิดปากถุงให้แน่น เพื่อส่งวิเคราะห์

 

คำถามเกี่ยวกับหญ้าแฝก คำตอบ
1.ขอข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าแฝก ในการขอข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าแฝก นั้นสามารถขอข้อมูลได้จากกรมพัฒนาที่ดิน หรือหน่วยงานสถานีพัฒนาที่ดิน ในจังหวัดต่างๆ
2.ต้องทำเรื่องขออย่างไร

สำหรับการขอรับหญ้าแฝกนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. ท่านผู้ขอสามารถไปขอรับหญ้าแฝกได้ด้วยตัวเองพร้อมกรอกแบบฟอร์มการขอ ที่สถานีพัฒนาที่ดินในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่ท่านไปขอรับ

2. ท่านสามารถแบบฟอร์มขอรับแฝกผ่านทางอินเทอร์เน็ต ด้วยระบบบริการประชาชน บนเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th

3.ทำไมต้องเป็นหญ้าแฝกถึงป้องกันดินถล่ม เป็นต้นไมอื่นๆ ได้หรือไม่ พื้นที่ที่เสี่ยงต่อดินถล่มจะเป็นพื้นที่ลาดชัน ที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม ซึ่งมักจะเกิดจาก การตัดไม้ทำลายป่า การป้องกันภัยจากดินถล่มมีมากมายหลายวิธี เช่น การใช้คอนกรีต ที่เราพบเห็นตามริมทางหลวงที่เป็นพื้นที่สูงและชัน ซึ่งใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่การป้องกันดินถล่มในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อดินถล่มโดยทั่วๆ ไป ซึ่งมีงบประมาณจำกัด ในลำดับแรกจึงต้องใช้หญ้าแฝกซึ่งเป็นพืชที่มีระบบรากลึกเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าออกด้านข้าง ทนแล้งได้ดีมีรากมากและลึก รากจะประสานกันหนาแน่นเสมือนม่านหรือกำแพงใต้ดิน เมื่อนำมาปลูกชิดกันเป็นแนวจึงสามารถยึดติดดินและชะลอการไหลของน้ำป่าได้ จะสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องดินถล่มและประโยชน์ของหญ้าแฝกได้จาก www.ldd.go.th

 

  • E-Service LDD
  • หมอดินอาสา
  • บัตรดินดี
  • กระทรวงเกษตรสหกรณ์และสหกรณ์
  • Easy office service
  • โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • โปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง
  • พิพิธภัณฑ์ดิน
  • วีดิทัศน์-กรมพัฒนาที่ดิน/รวมวีดิทัศน์
  • บริการตรวจสอบแนวเขตป่าไม้
  • ความรู้เรื่องดินสำหรับเยาวชน
  • มหัศจรรย์ พด.
  • ข้อมูลดินไทย
  • หญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ
  • แผนที่และสารสนเทศดิน
  • LDD Intranet
  • รวมเว็บไซต์ภายในกรมพัฒนาที่ดิน
  • ฐานข้อมูลจำลองการทำเกษตรกรรม
  • Smart Director
  • E-Search LDD
  • ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกร
  • ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อกสารติดต่อราชการ

แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ
สถานีพัฒนาที่ดินตรัง67

5e58a196 820b 4dd9 b19d 4efeed327ee3 O
a2a38d728759 9bb3 407e aa5b 63897f6bdbb6 Oa5861ea336 3287 472d a444 207990f17d80 O

           LDD2              
LDD logo buttom          

สถานีพัฒนาที่ดินตรัง     

เลขที่ 98/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านควน
อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000

โทรศัพท์ 075-501059 แฟกซ์ 075-501059  
E-mail : tr01.trang@gmail.com

Copyright 2023 Trang Land Development station