คลังความรู้

ปลูกถั่วงอกในขวดน้ำอัดลม

 

        

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ภาพ / ข้อมูล : Liekr.com

 

 

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ลงทุนน้อยแต่กำไรสูง

 

        

 

 

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้


– น้ำเปล่าจำนวน 100 กิโลกรัม
– แป้งข้าวเหนียวจำนวน 1 กิโลกรัม
– น้ำหมักชีวภาพ(พด.2) จำนวน 1 แก้ว ( 250ซีซี )
– ฟางข้าว

 

 

 


ขั้นตอนการเพาะ


– แบ่งเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน เป็นสองส่วน จะสามารถปลูกเห็ดได้ 2 ตะกร้า
– นำแป้งข้าวเหนียวและน้ำหมักชีวภาพ(พด.2) มาละลายในน้ำ ผสมให้เข้ากัน
– ให้นำฟางไปแช่น้ำจนฟางอิ่มน้ำประมาณ 1 ชม.
– จากนั้นนำฟางมาอัดลงในตะกร้าโดยให้สลับฟางกับเชื้อเห็ด จนครบ 3 ชั้น แต่ชั้นที่ 3 ให้โรยเชื้อเห็ดแบบเต็มหน้าตะกร้า
– ใช้ฟางวางชั้นบนสุดปิดหน้าเชื้อเห็ดอีกทีให้พอดีกับขอบตระกร้าด้านบน
– จากนั้นให้ครอบตะกร้าด้วยซุ่มไก่ หรืออะไรก็ได้ที่สามารถครอบได้
– หรือจะเอาไม้ไผ่มาสร้างเป็นสี่มุมก็ได้ จากนั้นคลุมด้วยพลาสติก หรือปิดด้วยแสลนหรือผ้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
– เช้าวันที่ 4 ให้เปิดรูระบายตรงวงกลมด้านบนไว้ประมาณ 15-20 นาที เมื่อครบเวลาให้คลุมด้วยแสลนหรือผ้าเหมือนเดิม
– ประมาณ 6 คืน เห็ดก็จะเริ่มออกดอกแล้ว ปลูกเสร็จไม่ควรรดน้ำซ้ำอีกเพราะจะทำให้เห็ดฝ่อง่ายมาก

 

 

 

 

 

 

.
รายงาน : กำธร รัตนช่วย เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน
ภาพ / ข้อมูล : ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร

 

การปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว

         

ข้าวโพดฝักสด หมายถึง ข้าวโพดทุกชนิดที่คนเราใช้เป็นอาหารก่อนที่เมล็ดข้าวโพดจะเกิดขึ้นก่อนเมล็ดจะแก่ ซึ่งในปัจจุบันข้าวโพดฝักสดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและของโลกสำหรับข้าวโพดฝักสดในประเทศไทย ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพด ฝักอ่อน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน

แต่ที่สำคัญคือ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน เป็นการบริโภคในท้องถิ่นและในอนาคตด้านตลาดมีแนวโน้มที่จะขยายมากขึ้น ข้าวโพดหวานเป็นพืชอายุสั้นให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรผู้ปลูกอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถจำหน่ายได้ในตลาดบริโภคสดและโรงงานอุตสาหกรรมกระป๋อง

 

 

 

ข้าวโพดหวาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์ซุปเปอร์สวิท พันธุ์ซุปเปอร์ฮาร์โก้ เกษตรกรสามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น เหมาะสำหรับจำหน่ายในตลาดบริโภคสด

พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พันธุ์อินทรี 2 พันธุ์ซูก้าร์ 73 พันธุ์ซูการ์ 74 พันธุ์ไฮ-บริทช์ 5 พันธุ์เอทีเอส-2 พันธุ์รอยัลสวีท พันธุ์ยูนิซีดส์ พันธุ์สวิททูโทน เป็นต้น ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดบริโภคสด และโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรไม่สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้

ข้าวโพดฝักอ่อน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

พันธุ์ผสมเปิด ลักษณะฝักไม่ค่อยสม่ำเสมอ สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้และจะต้องปลูกห่างจากพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 200 เมตร หรือทิ้งช่วงการปลูกจากพันธุ์อื่นไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ ได้แก่ พันธุ์เชียงใหม่ 90 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 48 วันหลังงอก พันธุ์สุวรรณ 2 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 45 วันหลังงอก

พันธ์ลูกผสม ลักษณะฝักสม่ำเสมอ ผลผลิตสูงเป็นที่ต้องการของโรงงาน เกษตรกรไม่สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 พันธ์ G 5414 พันธุ์แปซิฟิค 116 พันธุ์แปซิฟิค 421 พันธุ์ IBG 710 เป็นต้น

พันธ์ข้าวเหนียว ได้แก่ข้าวโพดหวานพิเศษขอนแก่น ผลิตโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเมล็ดสีขาวขุ่น กลิ่นหอมอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 65-70 วัน

ข้าวโพดเทียน ได้แก่ ข้าวโพดเทียนสีขาว พันธุ์ SSRTW 8801 (สุโขทัย 1) ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร อายุเก็บเกี่ยว 56-65 วัน ผลผลิตจำนวนฝักทั้งหมด 22,218 ฝัก/ไร่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ

ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้

ข้าวโพดฝักสดสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชลประทาน ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี ดินมีความเป็นกรด-ด่าง (PH) ประมาณ 5.5-6.8 สามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 2-3 พันเมตร อุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของตันข้าวโพด

แหล่งปลูกข้าวโพด
ภาคเหนือ
 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี พะเยา ลำปาง แพร่ เชียงราย เชียงใหม่และลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดเลย
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชัยนาท สระบุรี และลพบุรี
ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์

 

 

 

 

วิธีการปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดหวาน)

1. ฤดูปลูก ข้าวโพดหวานสามารถปลูกได้ทั้งปีในบางพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ สามารถปลูกในเดือนเมษายนเพราะการปลูกช่วงนี้ไม่มีปัญหาเรื่องพันธุ์อื่นๆ มาปะปน ช่วงปลูกที่เหมาะสมคือ ประมาณปลายเดือนกันยายนเพราะไม่จำเป็นต้องให้น้ำ หรืออาจให้บ้างในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว

2. การเตรียมดิน ไถตะ 1 ครั้ง แล้วตากดิอนไว้ 7-15 วัน หว่านปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกเพิ่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินประมาณ 1-2 ตัน/ไร่ (ในดินเหนียวควรเพิ่มแกลบและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มเป็น 2-4 ตัน/ไร่) ไถแปร 1-2 ครั้งเพื่อย่อยดินให้เหมาะสมต่อการยกแปลงปลูก

3. ระยะปลูก มี 2 แบบ คือ แบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่าง แถว 75 เซนติเมตรระหว่างตัน 30 เซนติเมตรแบบแถวคู่ (แบบแปลงผัก) ชักร่องกว้าง 120 เซนติเมตร ปลูกข้างสันร่องทั้ง 2 ด้าน ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร

4. การปลูก ข้าวโพดหวานใช้เมล็ดพันธุ์ 1-15 กิโลกรัม

5. การใส่ปุ๋ยมี 2 ระยะคือ รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสม และใส่ปุ๋ยแต่งหน้า 2 ครั้ง เมื่ออายุ 25-30 วันละ 40-45 วัน

ข้าวโพดหวาน ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,800 กิโลกรัม/ไร่
ข้าวโพดฝักอ่น ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,500 กิดลกรัม/ไร่
ข้าวโพดข้าวเหนียว ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลกรัม/ไร่
ข้าวโพดเทียน ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลกรัม/ไร่

 

 

แนวโน้มในอนาคตของข้าวโพดฝักสด

1. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันการส่งออกสูงเพราะข้าวโพดฝักสดสามารถแปรรูปผลผลิตได้หลายรูปแบบ สามารถส่งออกได้ทั้งในตลาดยุโรป อเมริกา อาฟริกา นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศก็มีความต้องการบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง

2. การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดฝักสดไม่มีปัญหาทางด้านโภชนาการ เนื่องจาก ในขั้นตอนการผลิตมีการใช้สารเคมีน้อย ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีน้อยมาก

3. เป็นพืชที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ง่ายเพราะเป็นพืชระยะเวลาการผลิตสั้น (ใช้ระยะเวลาเพียง 45-50 วัน สำหรับข้าวโพดฝักอ่อน และ 70-75 วัน สำหรับข้าวโพดหวาน) และสามารถปลูกได้ตลอดปี ดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตสูงมีความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสามารถทำได้โดยใช้พันธุ์และวิธีการผลิตที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำชลประทาน

4. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นพืชอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวาน เพราะเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูน้อย นอกจากนี้ พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความต้านทานโรคที่สำคัญได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อน

ตลาด และผลตอนแทน

ข้าวโพดหวานประมาณร้อยละ 50 ที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ในปี 2548 คิดเป็นประมาณ 109,774 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศผู้ส่งออกข้าวโพดหวานในตลาดโลกข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนที่เก็บส่วนของฝักออกไปใช้ประโยชน์แล้ว ส่วนของต้นและใบยังคงเหลือในแปลงรวมไปถึงกาบหุ้มฝัก ไหม ช่อดอกตัวผู้ของข้าวโพดฝักอ่อนและ ซังข้าวโพดที่เหลือจากโรงงานอุสาหกรรมยังสามารถนำเป็นอาหารสัตว์ได้ดี

แหล่งที่มา :  http://www.moac.go.th (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ )

เรียบเรียงบทความ : http://www.thaiarcheep.com/ (ไทยอาชีพ ดอทคอม )

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์

        

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ พร้อมวิธีป้องกันกำจัดศัตรูพืช

          เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ขึ้น โดยการผลิตมะนาวในวงบ่อซีเมนต์เป็นเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูที่สามารถบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลได้ 100% ผลผลิตประมาณ 250 - 1,000 ผลต่อต้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุต้นและการดูแลรักษา

 

 

 

การปลูก 


          ขั้นตอนและวิธีการปลูก เริ่มต้นโดยการหาพันธุ์ที่ตลาดต้องการ ออกดอกติดผลง่าย ขนาดผลใหญ่ มีปริมาณนํ้ามาก มีกลิ่นหอม ทนต่อโรคและแมลง อย่างเช่น พันธุ์แป้นรำไพ ตาฮิติ หรือพิจิตร1 ต่อมาเตรียมวงบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 -100 เซนติเมตร สูง 40 – 60 เซนติเมตร ด้านล่างนำฝาซีเมนต์มารองไว้ แต่ไม่ต้องเชื่อมติดกับวงบ่อซีเมนต์ เพื่อเป็นการระบายนํ้าและป้องกันไม่ให้รากต้นมะนาวชอนไชลงดินที่อยู่นอกวงบ่อซีเมนต์ ส่วนระยะการจัดวางวงบ่อซีเมนต์ ควรวางเป็นแถวโดยมีระยะห่างด้านละ 2 – 3 เมตร เพื่อความสะดวกในการเข้าไปดูแลต้นมะนาว 
ดินที่ใช้ในการปลูกควรเป็นดินชั้นบนผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยใช้ดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2 ส่วน แกลบดำ1 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วตักใส่วงบ่อซีเมนต์ให้ดินสูงพูนจากปากบ่อ 20 – 30 เซนติเมตร ขุดหลุมและรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15–15–15 อัตรา 20 กรัมต่อหลุม แล้วนำต้นมะนาวพันธุ์ดีที่ได้จากกิ่งตอนปักชำหรือต้นเสียบยอดที่สมบูรณ์มาปลูกตรงกลางวงบ่อซีเมนต์ ใช้ไม้ไผ่ปักเพื่อค้ำยันกิ่งและลำต้น เนื่องจากมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์จะมีพื้นที่ในการกระจายราก ที่จำกัด เมื่อมะนาวติดผลดกและมีลมแรงกิ่งอาจหักหรือ โค่นล้ม อาจทำเป็นแบบนั่งร้านสี่เหลี่ยมหรือปักเป็นกระโจม สามเหลี่ยมก็ได้ จากนั้นใช้เศษพืชแห้ง อย่างเช่น ฟางข้าว หรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้นมะนาวเพื่อรักษาความชุ่มชื้น และสุดท้ายรดนํ้าให้ชุ่ม

 

 

 

 

การดูแลรักษา 

           ในส่วนของการดูแลรักษาต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ควรรดนํ้าในช่วงเช้า 1 – 2 วันต่อครั้ง และหลังจากปลูก มะนาวได้ 1 เดือนแล้วให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 ในสัดส่วน 3 : 1 อัตรา 100 – 150 กรัมต่อต้น โดยใส่เดือนละ 1 ครั้ง และควรตัดแต่งกิ่งเมื่อต้นมะนาว แตกกิ่งออกเป็นจำนวนมาก เพราะกิ่งจะไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่ซ้อนทับกัน กิ่งที่อยู่ด้านล่างของต้น และกิ่งที่เป็นโรค ติดแมลง ทำลายกิ่งเหล่านี้ออกให้หมด เหลือกิ่งหลักไว้และ ควรกระจายกิ่งให้ทั่วต้น ไม่ควรให้หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง หลังจากที่ปลูกระยะหนึ่งแล้วดินจะยุบตัว หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตและตัดแต่งกิ่งมะนาวในแต่ละปี ควรนำดินที่ผสม ตามอัตราส่วนที่ ใช้ ปลูกมาใส่ เพิ่มให้ พูนจากปากวงบ่อซีเมนต์ เล็กน้อย

 

บังคับออกดอก 

          เทคนิคการบังคับให้ต้นมะนาวออกดอกติดผลใน นอกฤดูนั้น ต้นมะนาวจะต้องมีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป เริ่มในเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม มะนาวจะออกดอกและติดผลในฤดูกาลจำนวนมาก ควรปลิดดอก ผลอ่อน และผลแก่ออกให้หมด จากนั้นบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์ ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 100 -150 กรัมต่อต้น พอถึงปลาย เดือนสิงหาคม – ต้นเดือนกันยายน นำผ้าพลาสติกกันนํ้าฝน ขนาดกว้าง 1 – 1.5 เมตร ยาว 1.5 – 2 เมตร มาคลุม รอบวงบ่อซีเมนต์โดยมัดชายข้างหนึ่งไว้กับโคนต้นมะนาว ให้สูงจากพื้นดินปากบ่อซีเมนต์ 20 – 30 เซนติเมตร คลุมไว้นาน 15 – 20 วัน หลังจากนั้นใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว สลด หรือร่วงประมาณ 75 – 80% จึงนำผ้าพลาสติกนั้น ออกแล้วรดนํ้าพร้อมให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 100 -150 กรัมต่อต้นผ่านไป 2 สัปดาห์ ต้นมะนาวจะเริ่มผลิตาดอกหรือ แตกใบอ่อน ในระยะนี้ต้องระวัง ป้องกัน กำจัด โรคและ แมลงศัตรูต้นมะนาว โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ ไรแดงและหนอน ชอนใบ ต่อมาในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน จะเข้าสู่ ระยะผลเจริญและพัฒนาจนถึงเก็บเกี่ยว ในระยะนี้ควร ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 เป็นต้น ในอัตรา 100 – 150 กรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ในเดือน พฤศจิกายนและเดือนมกราคม รดนํ้าอย่างสมํ่าเสมอ ให้ธาตุอาหารเสริมทางใบที่จำเป็นทุก 14 วัน พร้อมกับใช้ สารเคมี สารชีวภาพที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค และแมลง อายุมะนาวที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ คือ หลังจาก ออกดอกประมาณ 4 – 6 เดือน แต่ก็จะมีความแตกต่าง กันตามสายพันธุ์ เกษตรกรจึงใช้วิธีสังเกตผลมะนาวแทน ผลมะนาวที่แก่ เก็บเกี่ยวได้ผิวของผลมะนาวจะมีลักษณะเปลือกบางใส และสีอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่

 

โรค - แมลงศัตรูมะนาว

เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ควรคัดเลือก พันธุ์มะนาวที่ปลอดโรคมาปลูกเพื่อป้องกันการเกิดโรค โรคที่พบในการปลูกมะนาว ได้แก่
          1. โรคแคงเกอร์ เป็นโรค ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv citri ซึ่งกระเซ็นมากับนํ้าและลมฝน ทำให้ส่วนที่มีเชื้ออยู่ไปติดยังส่วนอื่นๆ ของลำต้นมะนาว ลักษณะอาการ ใบเกิดจุดนูนสีนํ้าตาลเล็กๆ ล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง พบได้ทั้ง 2 ด้านของใบ จุดจะเกิดกระจัดกระจายหรือรวมกันเป็นกว้างก็ได้ เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจะเข้าทำลายกิ่งและลำต้น ทำให้ผลผลิตลดลง การกำจัดทำได้โดยตัดกิ่งที่เป็นโรคออก นำไปเผาทำลายและพ่นด้วยสารเคมี เช่น สเตร็บโตมัยซิน คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซต์ เป็นต้น 
          2.โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา Phytopthora parasitica ซึ่งติดมากับนํ้าฝน ทำให้เกิดแผลเน่า มีนํ้าฉํ่าที่ใบและผล ทำให้ผลร่วงมาก อาการมักเกิดที่โคนต้นและระบบราก ต้นมะนาวจะมีใบเหลืองซีด ลู่ลง กิ่งบาง กิ่งเริ่มแห้งตาย บริเวณโคนต้นเน่ามีสีนํ้าตาลลุกลามที่ลำต้น เปลือกปริแตก มียางไหลในสภาพอากาศชื้น วิธีกำจัดไม่ควรปลูกมะนาวลึกเกินไป ไม่ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สดและยังไม่ย่อยสลาย ส่วนต้นที่เป็นโรครุนแรงให้ขุดออกและเผาทำลาย สารเคมีที่ใช้ในการกำจัด คือ เมทาแลคซิล หรือ ฟอสอีธิล อะลูมิเนียม

          3.โรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อที่คล้ายกับเชื้อแบคทีเรีย (BLO) โดยมีเพลี้ยไก่แจ้ส้มเป็นแมลงพาหะ แพร่กระจายได้ด้วยการติดไปกับกิ่งพันธุ์ที่นำมาปลูก ลักษณะอาการ ใบมะนาวจะด่างเป็นสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใน ใบเล็กลง จากนั้นใบและยอดจะแห้งตาย ผลมะนาวจะมีขนาดเล็ก นํ้าหนักน้อย ต้นจะโทรม สามารถกำจัดได้โดยการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ส้ม ขุดเผาทำลายต้นมะนาวที่เป็นโรคเพื่อลดการแพร่ระบาด

          4.โรคทริสเตซ่า เกิดจากเชื้อไวรัส Citrus tristeza (CTV) ที่ถ่ายทอดทางกิ่งพันธุ์ที่มีแมลงเพลี้ยอ่อนส้ม หรือเพลี้ยอ่อนชนิดอื่นๆ และถ่ายทอดโดยการติดตาต่อกิ่ง ลักษณะอาการ เส้นใบเป็นขีดโปร่งแสง เมื่อมองย้อนแสงดูจะเห็นได้ชัด ใบซีดเหลือง หงิกงอ อาการเนื้อไม้เป็นแอ่งบุ๋มรุนแรงเมื่อหลอกเปลือกไม้ออก กิ่งตาย ทำให้ลำต้นโทรมอย่างรวดเร็ว การกำจัดได้โดยวิธีการควบคุมเพลี้ยอ่อน ขุดเผาต้นมะนาวที่เป็นโรคทิ้ง

 

 

 

 

 

แมลงศัตรูพืช

          แมลงศัตรูพืชที่ควรระวังในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม หนอนชอนใบ ไรแดง และเพลี้ยอ่อน ซึ่งแมลงเหล่านี้จะเข้าทำลายในระยะใบอ่อน ยอดอ่อน แมลงบางชนิดอาจทำให้ต้อนมะนาวหยุดการเจริญเติบโต จึงต้องรีบกำจัดโดยการใช้สารเคมีที่สามารถควบคุมแมลงแต่ละชนิดได้ คือ เพลี้ยไฟ ใช้อิมิดาคลอพริด-อะบาแมคติน หรือเมทโธมิล เพลี้ยไก้แจ้ส้ม และหนอนชอนใบ ใช้คาร์บาริล มาลาไธออน หรือคาร์โบซัลแฟน ไรแดง ใช้กำมะถันผง หรือไดโคฟอล เพลี้ยอ่อน ใ้ช้ไพเรททริน

 

ที่มา : น.ส.พ. กสิกร ปีที่ 84 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน

 

เศรษฐี ลองกองนอกฤดูกาล

          ภูมิปัญญาหมอดินอาสาจังหวัดสงขลา ชุด “เศรษฐี....ลองกองนอกฤดูกาล” โดยนายเล็ก  พรรณศรี หมอดินอาสาจังหวัดสงขลา ได้ศึกษาการผลิตลองกองนอกฤดูกาล เนื่องจากผลผลิตลองกองที่ออกตามฤดูกาลปกตินั้นมีราคาถูก เพราะผลผลิตออกมามาก ดังนั้นการผลิตลองกองนอกฤดูกาลจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ราคาผลผลิตลองกองเพิ่มขึ้น  นายเล็ก ได้เล่าถึงขั้นตอนการผลิตลองกองนอกฤดูกาลว่า ปกติลองกองจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฤดูแล้ง แต่การทำลองกองนอกฤดูกาลนั้น ในช่วงนี้ต้องห้ามไม่ให้ลองกองออกดอก จึงต้องมีการจัดการตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม ตัดหญ้ารอบทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ซึ่งหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และให้น้ำทุกวัน โดยระบบสปริงเกอร์ เพื่อให้น้ำกระจายทั่วทั้งต้น เหมือนในสภาพฤดูฝน และให้น้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 ทางระบบให้น้ำ ทุกๆ 10 วัน เมื่อถึงเดือนกรกฎาคม หยุดการให้น้ำ  ในเดือนสิงหาคม ลองกองจะผลัดใบและเริ่มแทงยอด  ให้ตัดหญ้ารอบทรงพุ่ม และกวาดเศษใบไม้ เศษหญ้าออกมากองไว้ แล้วหว่านปุ๋ยเพื่อเร่งการออกดอก หลังจากนั้นให้เอาเศษใบไม้มาคลุมบริเวณรอบๆทรงพุ่มที่หว่านปุ๋ยไว้ ให้น้ำทางระบบสปริงเกอร์ และให้น้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 ทางระบบให้น้ำ ทุกๆ 3 วัน ในเดือนกันยายน ลองกองจะเริ่มออกดอก ในช่วงนี้ให้เริ่มแต่งช่อดอก โดยจุดไหนมีหลายช่อ ให้เหลือไว้เพียงช่อเดียว โดยเลือกช่อที่มีขนาดใหญ่และก้านช่อยาวที่สุดไว้ เพราะเป็นช่อที่สมบูรณ์ ช่อไหนที่อยู่ด้านบนของกิ่งให้เอาออก เพราะอาหารจะถูกส่งไปเลี้ยงน้อยทำให้ช่อไม่สมบูรณ์ เมื่อดอกบานให้ตัดบริเวณปลายช่อทิ้ง เพราะหากเก็บไว้ผลบริเวณปลายจะสุกช้ากว่า ผลมีขนาดเล็ก ลองกองจะติดผลประมาณเดือนตุลาคม ให้ทำการแต่งผล โดยการเอาผลที่อยู่บริเวณโคนช่อออก เพราะหากเก็บไว้เมื่อผลผลิตโตขึ้นจะดันระหว่างกิ่งหลักและช่อผล ทำให้ช่อผลหลุดได้  และหากในช่อมีผลมากเกินไป ให้เลือกเอาผลออกบ้างเพื่อให้ช่อโปร่งขึ้น เมื่อผลลองกองโตเต็มที่จะมีขนาดเท่าๆกัน ไม่มีผลขนาดเล็กที่ไม่สมบูรณ์แทรกอยู่ หลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงผลให้สมบูรณ์ และในเดือนพฤศจิกายน ให้ห่อผลผลิตเพื่อป้องกันการทำลายจากแมลงศัตรูพืช สามารถเก็บผลผลิตลองกองได้ในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งในช่วงนี้ราคาจะดีกว่าขายตามฤดูกาล หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้พักต้น เพื่อเตรียมการทำลองกองนอกฤดูกาลต่อไป

โดย กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน ร่วมกับ สถานีพัฒนาที่ดินสงขลา
 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 จังหวัดสงขลา กรมพัฒนาที่ดิน